nooknazha โพสต์ 2020-6-23 18:23:05

การทำขอบตัดตก - เตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์


การทำขอบตัดตก - เตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์ Illustrator CS5

Graphic Design สำหรับงานพิมพ์การออกแบบกราฟิก สามารถทำได้ในหลายโปรแกรมค่ะ เช่น Illustrator, InDesign, Photoshop หรือรวมไปถึงการ Painting ในโปรแกรมต่างๆ นักออกแบบรุ่นใหม่ส่วนมากจะคุ้นเคยกับการออกแบบกราฟิกเพื่อนำเสนอผลงานผ่านทางเว็บไซด์ แต่ทว่าในขั้นตอนการนำเสนอผลงานออกมาทางหมึกพิมพ์ มันไม่ใช่แค่การออกแบบเพื่อความสวยงามอย่างเดียวเท่านั้น นักออกแบบกราฟิกจะต้องมีความรู้พื้นฐาน ถึงการเตรียมไฟล์งานก่อนการพิมพ์ เพื่อให้ผลงานออกมาเป็นผลงานที่สวยงามสมบูรณ์แบบด้วย
ในส่วนของภายในชิ้นงาน เรามาทำความเข้าใจขอบเขตแต่ละชั้นกันก่อนค่ะ


เส้นสีฟ้าอ่อน - Marginหรือเรียกอีกอย่างว่าเส้นไกด์ ในที่นี้เราจะใช้ทำเป็นแนวขอบเขตระยะ Safety Areaค่ะ นอกจากจะทำให้งานของเราดูเป็นกรอบ เป็นระเบียบมากขึ้นแล้ว ภายในขอบเขตของเส้น Margin ยังถือเป็นพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีโอกาสเสี่ยงจากการโดนตัดค่ะ ควรกำหนดให้ขอบเขตเล็กกว่าเส้นสีดำเข้ามา ไม่ควรให้ต่ำกว่า 3 mm ค่ะ
***ตัวหนังสือจำพวก text สำหรับอ่าน หรือชิ้นงานสำคัญๆ ควรให้อยู่ภายในเส้น Margin นะค่ะ เพราะบางครั้งเวลาที่โรงพิมพ์เจียนงานทิ้ง อาจจะมีการเหลื่อมล้ำเข้ามา(แต่ก็ไม่มากแค่นิดๆหน่อยๆ) เอาเป็นว่าอะไรที่สำคัญๆ ก็ให้อยู่ภายในเส้น Margin ไว้ค่ะ
เส้นสีดำ - ขอบเขตงาน
คือเส้นแสดงเนื้อที่ขอบเขตของงาน ตามที่เรากำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มสร้างไฟล์ค่ะ หรือให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เป็นขนาดของพื้นที่จริง เมื่องานของเราถูกพิมพ์ลงกระดาษและตัดขอบเรียบร้อยแล้ว

เส้นสีแดง- เส้น Bleed
การกำหนดค่าเส้น Bleed ก็คือ การเผื่อพื้นที่ "ระยะตัดตก" ค่ะ เป็นการออกแบบงานให้เลยยื่นออกนอกพื้นที่งานเพื่อที่จะได้ไม่เกิดขอบขาว เวลาโรงพิมพ์เจียนงานทิ้งถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆนะค่ะ เพราะถ้าเวลาเอาไฟล์งานที่ไม่มีการเผื่อค่า Bleed การไปให้ทางโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์อาจจะแจ้งหรือไม่แจ้งเราก่อน แต่ถ้าเป็นโรงพิมพ์ที่ใส่ใจงานของลูกค้า เขาจะเตือนเราก่อนว่า งานของเราไม่มีกำหนดค่า Bleed มาให้ และเนื้องานอาจจะอาจโดนตัดกินเข้าไป หรือมีขอบขาวเกิดขึ้น เขาจะแก้ปัญหาให้เราโดยการขยายเนื้อที่งานของเราออกค่ะ เพื่อไม่ให้เกิดขอบขาว และแน่นอนว่าส่วนที่ขยายออกไป มันจะโดนตัดทิ้ง
การตั้งค่า Bleed ตอนสร้างไฟล์ให้ไปที่คำสั่ง File> New.. ค่ะ



ให้กำหนดค่า Bleed ทุกด้านที่ 3 mm นะค่ะ เป็นค่ามาตราฐานทั่วไปสำหรับทุกโรงพิมพ์ กำหนดสีให้เป็น CMYK ค่าความละเอียดจุดสีให้อยู่ที่ HIGH 300 ppi


พอกดปุ่ม OK แล้วก็จะได้ออกมาเป็นดังภาพข้างล่างค่ะ



การตั้งค่า Bleed จากไฟล์เดิมสำหรับคนที่ไม่มีตั้งค่า Bleed หรือเผื่อค่าตัดตกเอาไว้ตั้งแต่เริ่ม หรือตั้งไว้น้อยเกินไปอยากจะเพิ่มอีก ก็สามารถตั้งค่า Bleed ทีหลังได้เช่นกันค่ะ โดยให้คลิกที่ปุ่ม Document Setup แล้วตั้งค่า Bleed ที่ต้องการลงไป



การทำเส้น margin
การแนวเส้น margin ปกติจะใช้เส้น guide ทำซึ่ง มี 2 วิธีด้วยกันค่ะ
วิธีแรกคือ

การดึงเส้นไกด์มาจากแถบ Rulers
ให้ไปที่คำสั่ง View> Rulers > Show Rulers



คลิกเม้าส์ขวาที่เส้นบรรทัด เพื่อเชคดูว่ามีหน่วยเป็น mm หรือเปล่า


จากนั้นก็ให้เอาเม้าส์ดึงเส้นเส้นบรรทัดออกมาวางตามมุมต่างๆ ดังภาพข้างล่างค่ะ ให้ห่างจากเส้นสีดำประมาณ 3-5 mm



เมื่อครบทั้ง 4 มุมแล้วก็ให้คลิกขวาที่เส้น เลือกคำสั่ง Lock Guides





สำหรับ วิธีทำเส้น Margin แบบที่สอง คือ เปลี่ยนวัตถุสี่เหลี่ยมให้เป็นเส้นไกด์ค่ะ
ตัวอย่างเช่น ที่ข้าพเจ้าภาพงานทำไว้ มีขนาด 40x140 mm, เราต้องการ margin ให้เข้ามาจากขอบกระดาษด้านละ 5 mm ก็ให้คลิกเลือเครื่องมือ Rectangle Tool และคลิกเม้าส์ 1 ครั้งบนพื้นงาน กำหนดค่าให้ลบจากขนาดพื้นที่จริงไปด้านละ 5 ดังภาพตัวอย่างข้างล่างค่ะ

พอกด OK แล้วก็ลากสี่เหลี่ยมมาวางตรงกลาง และคลิกขวาที่กรอบเลือกคำสั่ง Make Guides


ภาพเส้นไกด์ที่ได้ ซึ่งเราจะใช้ทำเป็นเส้นแนวMargin (Safety Area)ค่ะ

ในส่วนของการออกแบบโดยปกติภาพส่วนที่ยื่นเกินเส้นขอบเขตงาน (สีดำ) ออกไปจะถูกตัดทิ้งทั้งหมดค่ะ แต่บางครั้งทางโรงพิมพ์ก็ตัดไม่ถึงเส้นดำ เพื่อไม่ให้มีขอบขาวเกิดขึ้น ทางที่ดีเราควรวางงานให้จรดเส้น Bleed (เส้นสีแดง) พอดีทุกครั้ง ทุกด้านนะค่ะ
undefined



***อีกเรื่องค่ะที่ไม่ควรมองข้ามนะค่ะ เมื่อตรวจทานความถูกต้องของตัวอักษรทุกตัวเรียบร้อยแล้ว ก่อนเซฟงานส่งเข้าโรงพิมพ์เราควรเปลี่ยน Text ทุกตัวในชิ้นงานให้เป็นวัตถุก่อนค่ะ โดยให้เลือกที่ Text คลิกขวาเลือกคำสั่งCreate Outlines



(หลังจาก Text ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นวัตถุแล้ว..)



การเซฟไฟล์ PDF ก่อนส่งโรงพิมพ์
ต่อไปคือขั้นตอนของการเซฟไฟล์งานเป็น PDF ไฟล์ค่ะ

ให้ไปที่คำสั่ง File> Save As...



เลือกไฟล์งานที่จะเซฟเป็น PDF ไฟล์ค่ะ



เมื่อกดปุ่ม Save จะมีdialog ปรากฏขึ้นมา ให้เราเซ็ตค่าต่างๆดังนี้ค่ะ





เสร็จแล้วก็กดปุ่มSave PDF แค่นี้ก็เสร็จแล้วล่ะค่ะ
และเมื่อเปิดภาพไฟล์งานของเราในโปรแกรม PDF ดู ก็จะปรากฏกรอบ Bleed ดังนี้ค่ะ

******************************
บทความโดย นุ้ก
ขอจบบทความแค่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ ^^
(ขอสงวนสิทธิ์อนุญาตให้เผยแพร่เฉพาะในเว็บ www.graphicfufu.comเท่านั้น)
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: การทำขอบตัดตก - เตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์