เส้นสีฟ้าอ่อน - Margin
หรือเรียกอีกอย่างว่าเส้นไกด์ ในที่นี้เราจะใช้ทำเป็นแนวขอบเขตระยะ Safety Areaค่ะ นอกจากจะทำให้งานของเราดูเป็นกรอบ เป็นระเบียบมากขึ้นแล้ว ภายในขอบเขตของเส้น Margin ยังถือเป็นพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีโอกาสเสี่ยงจากการโดนตัดค่ะ ควรกำหนดให้ขอบเขตเล็กกว่าเส้นสีดำเข้ามา ไม่ควรให้ต่ำกว่า 3 mm ค่ะ
***ตัวหนังสือจำพวก text สำหรับอ่าน หรือชิ้นงานสำคัญๆ ควรให้อยู่ภายในเส้น Margin นะค่ะ เพราะบางครั้งเวลาที่โรงพิมพ์เจียนงานทิ้ง อาจจะมีการเหลื่อมล้ำเข้ามา(แต่ก็ไม่มากแค่นิดๆหน่อยๆ) เอาเป็นว่าอะไรที่สำคัญๆ ก็ให้อยู่ภายในเส้น Margin ไว้ค่ะ
เส้นสีดำ - ขอบเขตงาน
คือเส้นแสดงเนื้อที่ขอบเขตของงาน ตามที่เรากำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มสร้างไฟล์ค่ะ หรือให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เป็นขนาดของพื้นที่จริง เมื่องานของเราถูกพิมพ์ลงกระดาษและตัดขอบเรียบร้อยแล้ว
เส้นสีแดง- เส้น Bleed
การกำหนดค่าเส้น Bleed ก็คือ การเผื่อพื้นที่ "ระยะตัดตก" ค่ะ เป็นการออกแบบงานให้เลยยื่นออกนอกพื้นที่งาน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดขอบขาว เวลาโรงพิมพ์เจียนงานทิ้ง ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆนะค่ะ เพราะถ้าเวลาเอาไฟล์งานที่ไม่มีการเผื่อค่า Bleed การไปให้ทางโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์อาจจะแจ้งหรือไม่แจ้งเราก่อน แต่ถ้าเป็นโรงพิมพ์ที่ใส่ใจงานของลูกค้า เขาจะเตือนเราก่อนว่า งานของเราไม่มีกำหนดค่า Bleed มาให้ และเนื้องานอาจจะอาจโดนตัดกินเข้าไป หรือมีขอบขาวเกิดขึ้น เขาจะแก้ปัญหาให้เราโดยการขยายเนื้อที่งานของเราออกค่ะ เพื่อไม่ให้เกิดขอบขาว และแน่นอนว่าส่วนที่ขยายออกไป มันจะโดนตัดทิ้ง
การตั้งค่า Bleed ตอนสร้างไฟล์