บทความสอนกราฟิก

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
ค้นหา
ดู: 2426|ตอบกลับ: 0

การทำขอบตัดตก - เตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์

[คัดลอกลิงก์]

272

กระทู้

272

โพสต์

979

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เครดิต
979
Bleed_Illustrator8.gif
การทำขอบตัดตก - เตรียมไฟล์ก่อนส่งโรงพิมพ์ Illustrator CS5

Graphic Design สำหรับงานพิมพ์
การออกแบบกราฟิก สามารถทำได้ในหลายโปรแกรมค่ะ เช่น Illustrator, InDesign, Photoshop หรือรวมไปถึงการ Painting ในโปรแกรมต่างๆ นักออกแบบรุ่นใหม่ส่วนมากจะคุ้นเคยกับการออกแบบกราฟิกเพื่อนำเสนอผลงานผ่านทางเว็บไซด์ แต่ทว่าในขั้นตอนการนำเสนอผลงานออกมาทางหมึกพิมพ์ มันไม่ใช่แค่การออกแบบเพื่อความสวยงามอย่างเดียวเท่านั้น นักออกแบบกราฟิกจะต้องมีความรู้พื้นฐาน ถึงการเตรียมไฟล์งานก่อนการพิมพ์ เพื่อให้ผลงานออกมาเป็นผลงานที่สวยงามสมบูรณ์แบบด้วย

ในส่วนของภายในชิ้นงาน เรามาทำความเข้าใจขอบเขตแต่ละชั้นกันก่อนค่ะ


Bleed_Illustrator19.gif

เส้นสีฟ้าอ่อน - Margin
หรือเรียกอีกอย่างว่าเส้นไกด์ ในที่นี้เราจะใช้ทำเป็นแนวขอบเขตระยะ Safety Areaค่ะ นอกจากจะทำให้งานของเราดูเป็นกรอบ เป็นระเบียบมากขึ้นแล้ว ภายในขอบเขตของเส้น Margin ยังถือเป็นพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีโอกาสเสี่ยงจากการโดนตัดค่ะ ควรกำหนดให้ขอบเขตเล็กกว่าเส้นสีดำเข้ามา ไม่ควรให้ต่ำกว่า 3 mm ค่ะ

***ตัวหนังสือจำพวก text สำหรับอ่าน หรือชิ้นงานสำคัญๆ ควรให้อยู่ภายในเส้น Margin นะค่ะ เพราะบางครั้งเวลาที่โรงพิมพ์เจียนงานทิ้ง อาจจะมีการเหลื่อมล้ำเข้ามา(แต่ก็ไม่มากแค่นิดๆหน่อยๆ) เอาเป็นว่าอะไรที่สำคัญๆ ก็ให้อยู่ภายในเส้น Margin ไว้ค่ะ

เส้นสีดำ - ขอบเขตงาน
คือเส้นแสดงเนื้อที่ขอบเขตของงาน ตามที่เรากำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มสร้างไฟล์ค่ะ หรือให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เป็นขนาดของพื้นที่จริง เมื่องานของเราถูกพิมพ์ลงกระดาษและตัดขอบเรียบร้อยแล้ว

เส้นสีแดง- เส้น Bleed
การกำหนดค่าเส้น Bleed ก็คือ การเผื่อพื้นที่ "ระยะตัดตก" ค่ะ เป็นการออกแบบงานให้เลยยื่นออกนอกพื้นที่งาน  เพื่อที่จะได้ไม่เกิดขอบขาว เวลาโรงพิมพ์เจียนงานทิ้ง  ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆนะค่ะ เพราะถ้าเวลาเอาไฟล์งานที่ไม่มีการเผื่อค่า Bleed การไปให้ทางโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์อาจจะแจ้งหรือไม่แจ้งเราก่อน แต่ถ้าเป็นโรงพิมพ์ที่ใส่ใจงานของลูกค้า เขาจะเตือนเราก่อนว่า งานของเราไม่มีกำหนดค่า Bleed มาให้ และเนื้องานอาจจะอาจโดนตัดกินเข้าไป หรือมีขอบขาวเกิดขึ้น เขาจะแก้ปัญหาให้เราโดยการขยายเนื้อที่งานของเราออกค่ะ เพื่อไม่ให้เกิดขอบขาว และแน่นอนว่าส่วนที่ขยายออกไป มันจะโดนตัดทิ้ง

การตั้งค่า Bleed ตอนสร้างไฟล์
ให้ไปที่คำสั่ง File> New.. ค่ะ

Bleed_Illustrator1.gif


ให้กำหนดค่า Bleed ทุกด้านที่ 3 mm นะค่ะ เป็นค่ามาตราฐานทั่วไปสำหรับทุกโรงพิมพ์ กำหนดสีให้เป็น CMYK ค่าความละเอียดจุดสีให้อยู่ที่ HIGH 300 ppi

Bleed_Illustrator2.gif

พอกดปุ่ม OK แล้วก็จะได้ออกมาเป็นดังภาพข้างล่างค่ะ

Bleed_Illustrator3.gif

การตั้งค่า Bleed จากไฟล์เดิม
สำหรับคนที่ไม่มีตั้งค่า Bleed หรือเผื่อค่าตัดตกเอาไว้ตั้งแต่เริ่ม หรือตั้งไว้น้อยเกินไปอยากจะเพิ่มอีก ก็สามารถตั้งค่า Bleed ทีหลังได้เช่นกันค่ะ โดยให้คลิกที่ปุ่ม Document Setup แล้วตั้งค่า Bleed ที่ต้องการลงไป


Bleed_Illustrator21.gif

การทำเส้น margin
การแนวเส้น margin ปกติจะใช้เส้น guide ทำซึ่ง มี 2 วิธีด้วยกันค่ะ
วิธีแรกคือ


การดึงเส้นไกด์มาจากแถบ Rulers
ให้ไปที่คำสั่ง View> Rulers > Show Rulers

Bleed_Illustrator4.gif

คลิกเม้าส์ขวาที่เส้นบรรทัด เพื่อเชคดูว่ามีหน่วยเป็น mm หรือเปล่า
Bleed_Illustrator5.gif

จากนั้นก็ให้เอาเม้าส์ดึงเส้นเส้นบรรทัดออกมาวางตามมุมต่างๆ ดังภาพข้างล่างค่ะ ให้ห่างจากเส้นสีดำประมาณ 3-5 mm

Bleed_Illustrator6.gif

เมื่อครบทั้ง 4 มุมแล้วก็ให้คลิกขวาที่เส้น เลือกคำสั่ง Lock Guides
Bleed_Illustrator15.gif


Bleed_Illustrator7.gif

สำหรับ วิธีทำเส้น Margin แบบที่สอง คือ เปลี่ยนวัตถุสี่เหลี่ยมให้เป็นเส้นไกด์ค่ะ
ตัวอย่างเช่น ที่ข้าพเจ้าภาพงานทำไว้ มีขนาด 40x140 mm, เราต้องการ margin ให้เข้ามาจากขอบกระดาษด้านละ 5 mm ก็ให้คลิกเลือเครื่องมือ Rectangle Tool และคลิกเม้าส์ 1 ครั้งบนพื้นงาน กำหนดค่าให้ลบจากขนาดพื้นที่จริงไปด้านละ 5 ดังภาพตัวอย่างข้างล่างค่ะ
Bleed_Illustrator16.gif
พอกด OK แล้วก็ลากสี่เหลี่ยมมาวางตรงกลาง และคลิกขวาที่กรอบเลือกคำสั่ง Make Guides
Bleed_Illustrator17.gif

ภาพเส้นไกด์ที่ได้ ซึ่งเราจะใช้ทำเป็นเส้นแนว  Margin (Safety Area)ค่ะ
Bleed_Illustrator7.gif
ในส่วนของการออกแบบ  โดยปกติภาพส่วนที่ยื่นเกินเส้นขอบเขตงาน (สีดำ) ออกไปจะถูกตัดทิ้งทั้งหมดค่ะ แต่บางครั้งทางโรงพิมพ์ก็ตัดไม่ถึงเส้นดำ เพื่อไม่ให้มีขอบขาวเกิดขึ้น ทางที่ดีเราควรวางงานให้จรดเส้น Bleed (เส้นสีแดง) พอดีทุกครั้ง ทุกด้านนะค่ะ
undefined

Bleed_Illustrator8.gif

***อีกเรื่องค่ะที่ไม่ควรมองข้ามนะค่ะ เมื่อตรวจทานความถูกต้องของตัวอักษรทุกตัวเรียบร้อยแล้ว ก่อนเซฟงานส่งเข้าโรงพิมพ์เราควรเปลี่ยน Text ทุกตัวในชิ้นงานให้เป็นวัตถุก่อนค่ะ โดยให้เลือกที่ Text คลิกขวาเลือกคำสั่ง  Create Outlines

Bleed_Illustrator9.gif

(หลังจาก Text ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นวัตถุแล้ว..)

Bleed_Illustrator10.gif

การเซฟไฟล์ PDF ก่อนส่งโรงพิมพ์
ต่อไปคือขั้นตอนของการเซฟไฟล์งานเป็น PDF ไฟล์ค่ะ

ให้ไปที่คำสั่ง File> Save As...

Bleed_Illustrator11.gif

เลือกไฟล์งานที่จะเซฟเป็น PDF ไฟล์ค่ะ

Bleed_Illustrator12.gif

เมื่อกดปุ่ม Save จะมี  dialog ปรากฏขึ้นมา ให้เราเซ็ตค่าต่างๆดังนี้ค่ะ

Bleed_Illustrator13.gif

Bleed_Illustrator14.gif

เสร็จแล้วก็กดปุ่ม  Save PDF แค่นี้ก็เสร็จแล้วล่ะค่ะ

และเมื่อเปิดภาพไฟล์งานของเราในโปรแกรม PDF ดู ก็จะปรากฏกรอบ Bleed ดังนี้ค่ะ

Bleed_Illustrator20.gif
******************************
บทความโดย นุ้ก
ขอจบบทความแค่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ ^^
(ขอสงวนสิทธิ์อนุญาตให้เผยแพร่เฉพาะในเว็บ www.graphicfufu.comเท่านั้น)

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ข้อความล้วน|อุปกรณ์พกพา|ประวัติการแบน|GraphicFUFU

GMT+7, 2024-12-22 10:50 , Processed in 0.100646 second(s), 22 queries .

Powered by Discuz! X3.4 R20180101, Rev.59

© 2001-2017 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้