[AE] 9. รู้จักกับคีย์เฟรม และวิธีสร้างการเคลื่อนไหว
คีย์เฟรม(Keyframe)คือช่องสำหรับกำหนดค่า เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวในแต่ละช่วงเวลาให้กับคลิปวีดีโอจำเป็นต้องมีคีย์เริ่มต้น และคีย์สิ้นสุด
วิธีกำหนดคีย์เฟรม ไม่ว่าจะเป็นคลิปวีดีโอ หรือ ภาพนิ่งเราสามารถนำมาทำให้เคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ กันได้ โดยใช้การกำหนดค่าในคีย์เฟรมดังนี้ค่ะ
1. ที่ “Current Time”ให้กำหนดค่าช่วงเวลา หรือย้ายตัวเลื่อนเฟรมไปยังช่วงเวลา “เริ่มต้น” ที่ต้องการ (*ในกรณีข้าพเจ้าขอกำหนดให้ Current Time = 0;00;00;00 ) 2. ที่พาแนล Timeline ให้คลิกที่ปุ่มรูปนาฬิกาจับเวลาชื่อ “Time –Vray stop watch”
หน้าคำสั่งที่ต้องการ ในกรณีนี้ข้าพเจ้าขอเลือกเป็นคำสั่ง “Position” (ใช้ย้ายตำแหน่งของภาพนิ่ง หรือ คลิปวีดีโอที่ต้องการ)
*สำหรับคำสั่งต่าง ๆ ข้าพเจ้าได้อธิบายชนิดและการทำงานของแต่ละคำสั่งไว้ให้แล้วในบทความก่อนหน้าหากใครยังจำไม่ได้ ก็ให้ย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ก่อนนะค่ะ^^”
*หลังจากคลิกที่ปุ่ม “Time–Vray stop watch” เพื่อเริ่มจับช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปสัญลักษณ์ของปุ่มจะเปลี่ยนเป็น
มีเข็มนาฬิกาภายในแทน
3. กำหนดตำแหน่ง “เริ่มต้น” ของวัตถุที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลง
(กลุ่มตัวเลขหน้าคือให้วัตถุเคลื่อนย้ายตำแหน่งไปตามแนวนอนส่วนกลุ่มตัวเลขหลังคือให้วัตถุเคลื่อนย้ายตำแหน่งไปตามแนวตั้ง )
4.หลังจากเรากำหนดตำแหน่งเริ่มต้นของวัตถุแล้วโปรแกรมจะทำการสร้างคีย์เฟรมเพื่อจดจำค่าที่เราเซ็ตไว้อัตโนมัติค่ะ
5. ให้ใส่ค่าช่วงเวลาใหม่หรือย้ายตัวเลื่อนเฟรม “Current Time” ไปยังช่วงเวลา“สิ้นสุด” ที่ต้องการ (*ในกรณีข้าพเจ้าขอกำหนดให้ Current Time = 0;00;02;00 ) 6. กำหนดตำแหน่ง “สิ้นสุด”ของวัตถุที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลง
7. หลังจากเรากำหนดตำแหน่งสิ้นสุดของวัตถุแล้วโปรแกรมจะทำการสร้างคีย์เฟรมเพื่อจดจำค่าที่เราเซ็ตไว้อัตโนมัติ
8. ให้คลิกที่ปุ่ม “RAMPreview”
เพื่อดูผลลัพธ์
ผลลัพธ์ที่ได้
เพียงเท่านี้เราก็สามารถสร้างการเคลื่อนไหวให้กับภาพนิ่งและคลิปวีดีโอด้วยตนเองได้แล้วค่ะ ^0^
* เราสามารถใช้คำสั่งหลาย ๆ คำสั่งผสมกันได้ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับชิ้นงาน
ขอให้สนุกกับทุกชิ้นงานนะค่ะ แล้วค่อยพบกันใหม่บทความหน้า
บทความโดย นุ้ก
ขอจบบทความแค่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ ^^
(ขอสงวนสิทธิ์อนุญาตให้เผยแพร่เฉพาะในเว็บ www.graphicfufu.comเท่านั้น)
|