การเจาะรู การตัด และการรวมภาพ ด้วยพาเลท Pathfinder
การสร้างภาพโดยวิธีใช้เจาะรูหรือตัดด้วยพาเลท Pathfinder จะช่วยประหยัดเวลาในการชิ้นงานได้มากกว่าการสร้างแบบปกติค่ะ เราไม่ต้องไปนั่งดราฟเส้นให้เว้าโค้งหว่องเองให้ยุ่งยาก เพราะบางอย่างมันก็ลัดขั้นตอนได้เลย ด้วยเหตุนี้ Pathfinder จึงถือว่าเป็นสิ่งช่วยอำนวยความสะดวกทั้งยังประหยัดเวลาได้มากทีเดียว
หน้าตาของ Pathfinder
เราสามารถกดคีย์ลัด Shift+Ctrk+F9 เพื่อเรียกใช้ได้ แต่ถ้าไม่ถนัดปุ่มคีย์ลัด เราสามารถเรียกมันออกมาได้ด้วยการไปที่แถบเมนู Window> Pathfinder ดังภาพประกอบด้านล่างค่ะ ^^"
(ตัวอย่าง)การตัดภาพด้วยเส้นขอบ( Stroke )
1. ใช้เครื่องมือ
Pen Tool สร้างรูปหัวใจขึ้นมา
2. ใช้เครื่องมือ Pen Tool วาดแต่เฉพาะเส้น Stroke อย่างเดียวขึ้นมา(ดังภาพข้างล่าง)
3. จากนั้นให้คลิกที่เส้น Stroke และใช้คำสั่ง Object>Expand... เพื่อทำการเปลี่ยนเส้น Stroke ให้กลายเป็นวัตถุ
4. นำมาวางซ้อนกันโดยภาพหัวใจอยู่ด้านล่าง
5. กดคีย์ลัด Shift+Ctrk+F9 เพื่อเรียกใช้พาเลท Pathfinder ให้คลิกที่ปุ่ม Subtract from shape area เพื่อทำการตัดวัตถุด้านล่างด้วยวัตถุด้านบน
(เราจะพบว่าภาพเส้นที่ถูกตัดออกไปแล้วมันยังมีควมสัมพันธ์รวมเป็นภาพๆเดียวกันกับภาพหัวใจอยู่ )
6. ให้กดปุ่ม Expand เพื่อยกเลิกความสัมพันธ์ระหว่างภาพ
(Note : Expand คือการเอาวัตถุที่ผ่านการใช้คำสั่งใน Shape Modes มาแล้ว ทำให้รวมกันเป็นวัตถุชิ้นเดียว)
7. คลิกขวาที่ภาพเลือกคำสั่ง Release Compound Path เพื่อแยกภาพให้เป็นอิสระออกจาก
กัน
เสร็จแล้วค่ะ
-------------------------------------------------------------------
คราวนี้เรามารู้จักคำสั่งตัวอื่นๆใน Pathfinder กันบ้างค่ะ
Add To Shape Area การรวมวัตถุเข้าด้วยกัน
คำสั่งนี้จะเป็นการรวมภาพทั้งหมดให้เป็นชิ้นเดียวกัน โดยมันจะทำการเปลี่ยนสีและเส้นขอบตามภาพที่อยู่บนสุดค่ะ
นำมาวางซ้อนกันและกดปุ่ม Add To Shape Area ก่อน แล้วกดปุ่ม Expand
-------------------------------------------------------------------
Subtract from shape area การตัดวัตถุด้านล่าง ด้วยวัตถุด้านบน
คำสั่งนี้จะเป็นการตัดภาพค่ะ โดยส่วนที่ซ้อนกันจะถูกลบทิ้งไปพร้อมกับภาพบนสุด คงเหลือไว้แต่ภาพด้านล่าง
นำมาวางซ้อนกันและกดปุ่ม Subtract from shape area ก่อน แล้วกดปุ่ม Expand
-------------------------------------------------------------------
Instersect shape area การเลือกเอาเฉพาะแต่ส่วนที่ทับกัน
เป็นการตัดภาพโดยส่วนที่ทับซ้อนกันจะยังคงอยู่ แต่ส่วนที่ไม่ได้ซ้อนกันจะถูกลบออกไปค่ะ
นำมาวางซ้อนกันและกดปุ่ม Instersect shape area ก่อน แล้วกดปุ่ม Expand
------------------------------------------------------------------- Exclude overlapping shape area ลบเฉพาะส่วนที่ทับซ้อนกัน โดยที่เส้นขอบยังอยู่
ผลลัพธ์ของคำสั่งนี้ ส่วนที่ซ้อนทับกันจะถูกลบออกไปพร้อมๆกับถูกเปลี่ยนสีให้ตรงกับภาพบนสุดค่ะ
-------------------------------------------------------------------
Divide เป็นการตัดแบ่งพื้นที่วัตถุด้วยเส้น Path ของวัตถุทุกชิ้นที่ทับซ้อนกัน (โดยไม่สนว่าวัตถุนั้นจะอยู่ด้านหน้า หรือด้านหลัง) สีพื้นและสีเส้นยังคงเดิม
เลือกทั้งหมดแล้วคลิกขวาที่ภาพ เลือก Ungroup เราจะสามารถจับแต่ละชิ้น แยกออกมาได้
ในกรณีใช้คำสั่ง Divide ในการเจาะรูวัตถุ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน....
เลือกทั้งหมดแล้วคลิกขวาที่ภาพ เลือก Ungroup เราจะสามารถจับแต่ละชิ้น แยกออกมาได้
-------------------------------------------------------------------
Trim และ
Merge สองคำสั่งนี้จะให้ผลลัพธ์คล้ายกันค่ะ Trim จะเป็นการตัดโดยใช้วัตถุด้านบนตัดเจาะวัตถุด้านล่าง (วัตถุด้านบนยังคงรูปเดิม)
ส่วน Merge จะการทำงานจะเหมือนกับ Trim แต่ต่างกันนิดหน่อยตรงที่ หากวัตถุที่ทับซ้อน มีสีพื้นเป็นสีเดียวกัน มันจะทำการรวมวัตถุชิ้นนั้นเข้าด้วยกันทันที
-------------------------------------------------------------------
Crop เป็นการตัดวัตถุชิ้นด้านล่างให้มีรูปทรงเหมือนกับวัตถุด้านบน (เส้นขอบนอกจะถูกตัดทิ้ง แต่เราสามารถใส่ทีหลังได้)
-------------------------------------------------------------------
Outline เป็นการตัดกันของเส้น Pathทุกเส้นที่ทับซ้อนกัน โปรแกรมจะนำสีของส่วนที่เป็นพื้นที่มาเป็นสีเส้นแทน และยกเลิกสีพื้นออก (ขนาดเส้นจะถูกปรับเป็น 0 หากเราใช้คำสั่งนี้เสร็จแล้ว ควรเพิ่มขนาดเส้นให้ใหญ่กว่าเดิม หรือจะเปลี่ยนสีเลยก็ได้ตามความเหมาะสม)
-------------------------------------------------------------------
Minus Back เป็นการตัดวัตถุด้านบน ด้วยรูปทรงของวัตถุด้านล่าง (วัตถุด้านล่างจะถูกลบทิ้ง)
ครบซะที ...... ^^" บทความโดย นุ้ก
ขอจบบทความแค่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ ^^
(ขอสงวนสิทธิ์อนุญาตให้เผยแพร่เฉพาะในเว็บ www.graphicfufu.comเท่านั้น)
|